อิทธิพลต่อศิลปินรุ่นหลัง ของ ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส

"ภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิส" ของรือเบินส์เป็นภาพชุดที่มีอิทธิพลต่อจิตรกรคนสำคัญอื่น ๆ หลายคนในยุคนั้นโดยเฉพาะต่อจิตรกรฝรั่งเศสเช่นฌ็อง-มาร์ก นาตีเย (ค.ศ. 1644-ค.ศ. 1717) และฟร็องซัว บูเช ผู้สร้างงานก๊อบปี้ของภาพชุดนี้[128] นอกจากนั้นการใช้เทพเจ้ากรีก/โรมันในการการสื่อความหมายของภาพก็ยังมามีอิทธิพลต่อจิตรกรอย่างปอล เซซาน (ค.ศ. 1839-ค.ศ. 1906) ต่อมา[129]

ภาพชุดนี้มีอิทธิพลโดยเฉพาะต่ออ็องตวน วาโต (ค.ศ. 1684-ค.ศ. 1721) ผู้เป็นลูกศิษย์ของโกลด ฌีโย และโกลด โอดร็องที่ 3 ผู้เป็นจิตรกรมีลักษณะการเขียนที่นอกแนวไปจากศิลปะสถาบันของฝรั่งเศส โอดร็องเป็นภัณฑารักษ์ของพระราชวังลุกซ็องบูร์ที่เป็นที่ตั้งของภาพชุดพระราชินีมารี เดอ เมดีซิสในขณะนั้น ซึ่งทำให้วาโตมีโอกาสได้เห็นงานเขียน ศึกษา และลอกงานได้โดยตรง ความสามารถในด้านเทคนิคการเขียนภาพและการใช้สีของรือเบินส์เป็นงานที่มีฝีมือที่ดีกว่าผู้ใดในปารีสในขณะนั้น ฉะนั้นจึงทำให้ภาพชุดพระราชินีมารีกลายเป็นภาพชุดที่มามีอิทธิพลอันสำคัญต่อการพัฒนาลักษณะการเขียนวาโตต่อมาเป็นอันมาก[130]